บ้านแม่กลางหลวง ตั้งอยู่ในหุบเขานาขั้นบันไดอันเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3 บนดอยอินทนนท์ ในเขตการปกครองของหมู่ 17 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ได้อพยพมาจากประเทศพม่า เข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อประมาณทศวรรษ 2330 และได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่บ้านอ่างกาน้อย และบ้านผาหมอน เป็นหมู่บ้านหลักหรือหมู่บ้าเก๊า เมื่อประมาณ 20 กว่าปี ก่อนการอพยพย้ายถิ่นไปมาในบริเวณนั้น ตามความเชื่อเกี่ยวกับภัยพิบัติและโรคระบาดที่เกิดขึ้น ได้มีการขยายหมู่บ้านจากบ้านอ่างกาน้อยไปยังบ้านแม่กลางหลวง และจากบ้านผาหมอนไปยังบ้านหนองหล่มดังเช่นปัจจุบัน บริเวณลุ่มน้ำแม่กลาง หรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า "แม่กลางคี" มีชนเผ่ากระเหรี่ยงอาศัย ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงในกลุ่มสะกอ หรือยางขาวในภาษาราชการ หรือที่รู้จักในชื่อ ปกาเกอะญอ หรือ คานยอ (Kanyaw) อันหมายถึง ผู้มีความสมถะและเรียบง่าย บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลางประกอบด้วยชุมชนย่อย 4 แห่ง คือ ชุมชนบ้านอ่างกาน้อย ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ชุมชนบ้านหนองหล่ม และชุนบ้านผาหมอน โดยมีจำนวนครัวเรือนในแต่ละกลุ่มบ้านประมาณ 60 - 80 ครัวเรือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น