หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โกมผัด หรือ โคมหมุน



        เป็นโคมที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยชาวไทยล้านนา หรือทางสิบสองปันนาได้หนีอพยพเข้ามาในภาคเหนือ เป็นพวกลื้อ มอญ ซึ่งได้นำประเพณีการทำโคมผัดเข้ามา เวลามีงานประจำปีหรืองานตามวัด ก็ด้ทำโคมผัดตั้งไว้ให้คนดูแทนหนัง ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีภาพยนตร์ โคมผัดจึงคล้ายหนังตะลุง มีลักษณะทรงกระบอกกว้าง 12 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสีขาว โคมนี้สามารถหมุนได้ ทางภาคกลางจึงเรียกว่า "โคมเวียน" ด้านในจะมีไม้หรือด้ายโยงเข้ามาแกนกลาง ซึ่งทำเป็นมุมแหลมดังหัวจรวด ใส่ไว้ในก้นถ้วยหรือภาชนะที่มีร่องกลมพอเหมาะเพื่อให้โคมผัดหมุนไปรอบ ๆ ด้วยแรงเทียน เมื่อจุดเทียนซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมความร้อนจากเปลวเทียนจะไปกระทบแถบกระดาษและผลักให้ส่วนที่เป็นโครงครอบนั้นให้หมุนจะทำให้เห็นเงาปรากฎเป็นรูปต่าง ๆ เวียนไปรอบ ๆ ซึ่งนับเป็นนิทรรศการในลักษณะของโบราณอย่างง่าย ๆ สำหรับในปัจจุบัน โคมผัดได้มีการประยุกต์ใช้แรงหมุนจากแรงเทียนมาใช้เป็นแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้าแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการเก็บรักษา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น