หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติโคมล้านนา

โคม เป็นชื่อของเมืองโบราณในเชียงราย ชื่อว่า "สุวรรณโคมคำ" โคม ใช้เป็นเครื่องสักการะและใช้ส่องแสงสว่างอันเก่าแก่ของคนในภาคต่าง ๆ ใช้กันทั่วทุกภาค แต่สำเนียงจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือจะเรียกว่า "โกม"


โคมไฟล้านนา หรือโกมล้านนา เป็นงานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบอทอดต่อกันมา และได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คงอยู่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตผูกพันกับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธา ปัจจุบันชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีลอยกระทง นิยมจุดโคมค้าง หรือโคมที่ติดแขวนไว้บนที่สูง ทำด้วยไม้ไผ่และกระดาษ สร้างเป็นโคมทรงกลมหักมุมเรียกว่า "โคมรังมดส้ม" ใช้ประดับตกแต่งมีเทียนและประทีปเพื่อเป็นการสักการะบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) และเชื่อว่าเป็นการบวงสรวงพระเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว แสงประทีปจากโคมจะช่วงส่งประกายให้การดำเนินชีวิตเจริญร่งเรือนอยู่เย็นเป็นสุข ชาวล้านนาจึงนิยมปล่อยโคมไฟขึ้นฟ้าและจุดประทีปตามบ้านเรือน


ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้โคมไฟมาทำเป็นเครื่องประดับตามอาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังช่วยสืบสานและอนุรักษ์เอกลักษณ์งานหัตถกรรมโคมล้านนาให้คงอยู่สืบไป

3 ความคิดเห็น: