ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า
ชาวเหนือเชื่อว่าพระพุทธรูปหรือ "พระเจ้า"นั้นมีชีวิตเหมือนคนทั่วไป เวลาหล่อพระพุทธรูปเสร็จจึงต้องสร้างหัวใจพระเจ้า ซึ่งทำจากเงินหรือทองบรรจุไว้ด้วย พร้อมกันนั้นยังมีอัฐบริขารต่างๆเช่น รองเท้า พัด อาสนะ ให้ เมื่อเปลี่ยน ฤดูกาลก็มีการเปลี่ยนเครื่องทรง เพราะพระเจ้าก็รู้ร้อนรู้หนาวเช่นเดียวกับคน ชาวเหนือจึงเลือกวันที่หนาวที่สุดร่วมกัน จุดไฟกองใหญ่เพื่อผิงให้ "พระเจ้า"ได้อบอุ่น ประเพณีนี้เคยทำกันทุกพื้นท่ของภาคเหนือตอนบน แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง จะจัดงานในวัน "สี่เป็ง"หรือขึ้น15ค่ำเดือน4เหนือ หรือเดือนมกราคมนั่นเองเช่น อ.แม่แจ่ม จะมีการจัด งานอยู่เพียงสองแห่งคือ ที่วัดยางหลวง และวัดป่าแดด พิธีดังกล่าวจะทำควบคู่กับประเพณีทานข้าวล้นบาตรเพื่อบูชา แม่โพสพและทานข้าวใหม่
งานร่มบ่อสร้างและ ศิลปหัตถกรรมไทย
จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่ม หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง โดยจัดตกแต่งบ้านเรือนและ ร้านค้าสองฝั่งถนนแบบล้านนา ประดับประทีปโคมไฟ และธงทิวแบบงานปอยของภาคเหนือ มีการแสดงและจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำ จากกระดาษสา มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ประเพณีพื้นบ้าน และการ ประกวดต่าง ๆ
งานไม้แกะสลักบ้าน ถวาย
จัดขึ้นในราวเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง ในงานมีขบวนแห่ที่ตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก การจำหน่ายสินค้า
ชาวเหนือเชื่อว่าพระพุทธรูปหรือ "พระเจ้า"นั้นมีชีวิตเหมือนคนทั่วไป เวลาหล่อพระพุทธรูปเสร็จจึงต้องสร้างหัวใจพระเจ้า ซึ่งทำจากเงินหรือทองบรรจุไว้ด้วย พร้อมกันนั้นยังมีอัฐบริขารต่างๆเช่น รองเท้า พัด อาสนะ ให้ เมื่อเปลี่ยน ฤดูกาลก็มีการเปลี่ยนเครื่องทรง เพราะพระเจ้าก็รู้ร้อนรู้หนาวเช่นเดียวกับคน ชาวเหนือจึงเลือกวันที่หนาวที่สุดร่วมกัน จุดไฟกองใหญ่เพื่อผิงให้ "พระเจ้า"ได้อบอุ่น ประเพณีนี้เคยทำกันทุกพื้นท่ของภาคเหนือตอนบน แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง จะจัดงานในวัน "สี่เป็ง"หรือขึ้น15ค่ำเดือน4เหนือ หรือเดือนมกราคมนั่นเองเช่น อ.แม่แจ่ม จะมีการจัด งานอยู่เพียงสองแห่งคือ ที่วัดยางหลวง และวัดป่าแดด พิธีดังกล่าวจะทำควบคู่กับประเพณีทานข้าวล้นบาตรเพื่อบูชา แม่โพสพและทานข้าวใหม่
งานร่มบ่อสร้างและ ศิลปหัตถกรรมไทย
จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่ม หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง โดยจัดตกแต่งบ้านเรือนและ ร้านค้าสองฝั่งถนนแบบล้านนา ประดับประทีปโคมไฟ และธงทิวแบบงานปอยของภาคเหนือ มีการแสดงและจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำ จากกระดาษสา มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ประเพณีพื้นบ้าน และการ ประกวดต่าง ๆ
งานไม้แกะสลักบ้าน ถวาย
จัดขึ้นในราวเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง ในงานมีขบวนแห่ที่ตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก การจำหน่ายสินค้า
งานมหกรรมไม้ ดอกไม้ประดับ
จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีการประกวดรถขบวนที่ทำขึ้นจากดอกไม้นานาชนิด บริเวณสวนบวกหาด ประตูสวนปรุง มีการตกแต่งสถานที่ให้เป็น สวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนป่าธรรมชาติ สวนหิน มีการประกวดสวนหย่อมและพันธุ์ ไม้ชนิดต่าง ๆ ภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ และนางงามบุปผชาติ และการแสดงพื้นบ้านที่น่าสนใจ
จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีการประกวดรถขบวนที่ทำขึ้นจากดอกไม้นานาชนิด บริเวณสวนบวกหาด ประตูสวนปรุง มีการตกแต่งสถานที่ให้เป็น สวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนป่าธรรมชาติ สวนหิน มีการประกวดสวนหย่อมและพันธุ์ ไม้ชนิดต่าง ๆ ภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ และนางงามบุปผชาติ และการแสดงพื้นบ้านที่น่าสนใจ
งานประเพณี สงกรานต์และงาน ล้านนาไทยในอดีต
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ เนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนศักราชใหม่
และไปรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญู คนเมืองเรียกประเพณีนี้ว่าว่า "ป๋าเวณีปีใหม่เมือง"
วันที่ 13 เม.ย. เรียกว่า "วันสังขารล่อง"หรือวัน "สังขานต์ล่อง"ชาวบ้านจะยิงปืนจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่าง เพื่อขับไล่ตัวสังขานต์หรือตัวเนียดจัญไร จากนั้นจึงเก็บกวาดบ้านเรือน ทำความสะอาดพระพุทธรูป
วันที่ 14 เม.ย. เรียกว่า "วันเนา"หรือ"วันเน่า"วันนี้ต้องทำแต่สิ่งอันเป็นมงคล ห้ามด่าทอหรือทะเลาะวิวาทกัน
และตระเตรียมทำขนมจอก(ขนมเทียน)ข้าวแต๋น(ขนมนางเล็ด)เพื่อนำไปทำบุญที่วัด
วันที่ 15 เม.ย. เรียกว่า "วันพญาวัน"เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่ เป็นวันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัด
มีการทานช่อ (ธงกระดาษรูปสามเหลี่ยม) ทานตุง (ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว)และไม้ค้ำโพธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูป และพระธาตุประจำเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระเสตังคมณีที่วัดเชียงมั่น
ประเพณีเข้าอินทขิล
คนเมืองเรียกว่า "การใส่ขันดอก"เป็นการบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ในช่วงเริ่มต้น
ฤดูเพาะปลูก และเป็นการสมโภชเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข โดยเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จัดงานประมาณเดือน พ.ค.
ต่อเดือนมิ.ย.วันเข้าอินทขิล มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่าหรือพระพุทธรูปคันธราษฎร์ ไปรอบตัวเวียงเชียงใหม่เพื่อให้ประชาชนได้ สรงน้ำและใส่ขันดอกก่อนนำมาประดิษฐานที่วัดสวนดอก จากนั้นจึงมีพิธีภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์เก้ารูปทำพิธีเจริญพระพุทธมนต
์บูชาเสาอินทขิลซึ่งฝังอยู่ใต้ดินภายในบุษบกที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป เมื่อเสร็จพิธีจะมีงาน มหรสพสมโภชตลอดช่วงเข้าอินทขิล
พิธีเลี้ยงผีปู่และย่าแสะ
ผีปู่และย่าแสะ เป็นที่นับถือของชาวเชียงใหม่มาแต่อดีต ตามตำนานเล่าว่าเป็นผีบรรพบุรุษของลัวะเจ้าของถิ่นเดิม
มีหน้าที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์ ขุนนาง และชาวบ้านต้องร่วมกันทำพิธีฆ่าควายเพื่อเซ่นสังเวยเลี้ยงผีปู่และย่าแสะ
เป็นประจำทุกปีบริเวณชายป่าเชิงดอยคำ จัดงานประมาณเดือน มิ.ย. ในพิธีจะมีการทรง "เจ้านาย" เพื่อพยากรณ์
ถึงความเป็นอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ปัจจุบันพิธีการเลี้ยงผีได้ถูกปรับเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการทรง
ที่เคยให้ความสำคัญแก่ผีปู่และย่าแสะ ก็กลายเป็นการเชิญเจ้าองค์ใดก็ได้ และมีการขอบริจาคเงินเพื่อบูชาครูแลกคำทำนาย
หรือเพื่อผูกข้อมือให้พรเป็นสิริมงคล
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง
ตามตำนานเล่าว่าพุทธสถานแห่งนี้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ หรือพระธาตุส่วนเศียรเบื้องขวาของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การประดิษฐานนี้มิได้เป็นการถาวร คือสามารถเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชน
ได้สักการะอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เกิดประเพณีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเข้าและออกพรรษา ปีละสองครั้ง นับเป็น
ศาสนพิธีที่สำคัญประจำปีของวัดและแสดงถึงความศรัทธาของประชาชน
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ เนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนศักราชใหม่
และไปรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญู คนเมืองเรียกประเพณีนี้ว่าว่า "ป๋าเวณีปีใหม่เมือง"
วันที่ 13 เม.ย. เรียกว่า "วันสังขารล่อง"หรือวัน "สังขานต์ล่อง"ชาวบ้านจะยิงปืนจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่าง เพื่อขับไล่ตัวสังขานต์หรือตัวเนียดจัญไร จากนั้นจึงเก็บกวาดบ้านเรือน ทำความสะอาดพระพุทธรูป
วันที่ 14 เม.ย. เรียกว่า "วันเนา"หรือ"วันเน่า"วันนี้ต้องทำแต่สิ่งอันเป็นมงคล ห้ามด่าทอหรือทะเลาะวิวาทกัน
และตระเตรียมทำขนมจอก(ขนมเทียน)ข้าวแต๋น(ขนมนางเล็ด)เพื่อนำไปทำบุญที่วัด
วันที่ 15 เม.ย. เรียกว่า "วันพญาวัน"เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่ เป็นวันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัด
มีการทานช่อ (ธงกระดาษรูปสามเหลี่ยม) ทานตุง (ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว)และไม้ค้ำโพธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูป และพระธาตุประจำเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระเสตังคมณีที่วัดเชียงมั่น
ประเพณีเข้าอินทขิล
คนเมืองเรียกว่า "การใส่ขันดอก"เป็นการบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ในช่วงเริ่มต้น
ฤดูเพาะปลูก และเป็นการสมโภชเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข โดยเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จัดงานประมาณเดือน พ.ค.
ต่อเดือนมิ.ย.วันเข้าอินทขิล มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่าหรือพระพุทธรูปคันธราษฎร์ ไปรอบตัวเวียงเชียงใหม่เพื่อให้ประชาชนได้ สรงน้ำและใส่ขันดอกก่อนนำมาประดิษฐานที่วัดสวนดอก จากนั้นจึงมีพิธีภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์เก้ารูปทำพิธีเจริญพระพุทธมนต
์บูชาเสาอินทขิลซึ่งฝังอยู่ใต้ดินภายในบุษบกที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป เมื่อเสร็จพิธีจะมีงาน มหรสพสมโภชตลอดช่วงเข้าอินทขิล
พิธีเลี้ยงผีปู่และย่าแสะ
ผีปู่และย่าแสะ เป็นที่นับถือของชาวเชียงใหม่มาแต่อดีต ตามตำนานเล่าว่าเป็นผีบรรพบุรุษของลัวะเจ้าของถิ่นเดิม
มีหน้าที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์ ขุนนาง และชาวบ้านต้องร่วมกันทำพิธีฆ่าควายเพื่อเซ่นสังเวยเลี้ยงผีปู่และย่าแสะ
เป็นประจำทุกปีบริเวณชายป่าเชิงดอยคำ จัดงานประมาณเดือน มิ.ย. ในพิธีจะมีการทรง "เจ้านาย" เพื่อพยากรณ์
ถึงความเป็นอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ปัจจุบันพิธีการเลี้ยงผีได้ถูกปรับเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการทรง
ที่เคยให้ความสำคัญแก่ผีปู่และย่าแสะ ก็กลายเป็นการเชิญเจ้าองค์ใดก็ได้ และมีการขอบริจาคเงินเพื่อบูชาครูแลกคำทำนาย
หรือเพื่อผูกข้อมือให้พรเป็นสิริมงคล
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง
ตามตำนานเล่าว่าพุทธสถานแห่งนี้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ หรือพระธาตุส่วนเศียรเบื้องขวาของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การประดิษฐานนี้มิได้เป็นการถาวร คือสามารถเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชน
ได้สักการะอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เกิดประเพณีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเข้าและออกพรรษา ปีละสองครั้ง นับเป็น
ศาสนพิธีที่สำคัญประจำปีของวัดและแสดงถึงความศรัทธาของประชาชน
งานประเพณียี่เป็ง
ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือ จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน วันเพ็ญเดือน 12 เดิมประเพณีนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการปลดปล่อย
ความทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่างๆไปกับโคมลอยและกระทงที่เรียกว่า "ลอยโขมด" ในปัจจุบัน มีการตกแต่งบ้านเรือน
และถนน หนทางด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ การประกวดกระทง ประกวดโคมไฟ มีการจุดดอกไม้ไฟ การปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุ จุฬามณีบนสวรรค์
งานมหกรรมอาหาร
จัดขึ้นในเดือนธันวาคม บริเวณกาดเชิงดอย ถนนริมคลองชลประทาน (ใกล้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) มีการออกร้านขายอาหาร ของร้านอาหารทั่วจังหวัดเชียงใหม่ และมีการประกวดร้านอาหารดีเด่น
งานฤดูหนาว
จัดขึ้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในปลายเดือนธันวาคม ในงานมีการประกวด นางงามฤดูหนาวเชียงใหม่ งานออกร้าย ขายของที่ระลึก และการวงดนตรี การละเล่นต่างๆมาก
ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือ จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน วันเพ็ญเดือน 12 เดิมประเพณีนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการปลดปล่อย
ความทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่างๆไปกับโคมลอยและกระทงที่เรียกว่า "ลอยโขมด" ในปัจจุบัน มีการตกแต่งบ้านเรือน
และถนน หนทางด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ การประกวดกระทง ประกวดโคมไฟ มีการจุดดอกไม้ไฟ การปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุ จุฬามณีบนสวรรค์
งานมหกรรมอาหาร
จัดขึ้นในเดือนธันวาคม บริเวณกาดเชิงดอย ถนนริมคลองชลประทาน (ใกล้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) มีการออกร้านขายอาหาร ของร้านอาหารทั่วจังหวัดเชียงใหม่ และมีการประกวดร้านอาหารดีเด่น
งานฤดูหนาว
จัดขึ้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในปลายเดือนธันวาคม ในงานมีการประกวด นางงามฤดูหนาวเชียงใหม่ งานออกร้าย ขายของที่ระลึก และการวงดนตรี การละเล่นต่างๆมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น